ต้นโกงกาง (Red Mangrove) ไม่ได้เป็นเพียงต้นไม้ในเขตป่าชายเลน
ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนแผงกั้นป้องกันการกัดเซาะของน้ำเท่านั้น
และมันก็ไม่ได้เป็นเพียงต้นไม้ที่นำมาทำฟืนได้มีประสิทธิภาพเท่านั้น เพราะคุณค่า
ความสามารถ และประโยชน์ของมัน ทำให้มันน่าสนใจในแง่ความคิดและการออกแบบโดยธรรมชาติที่ทำให้มันวิวัฒนาการมาเป็นต้นโกงกางในปัจจุบันได้
เนื่องจากพื้นดินที่มันขึ้นอยู่
แทบเรียกไม่ได้ว่าเป็นพื้นดิน เพราะมันเป็นโคลนเลนซึ่งมีการอุ้มน้ำอยู่มาก
และนั่นทำให้พื้นดินบริเวณดังกล่าวขาดออกซิเจน
แต่การทำงานของรากและโครงสร้างรากต้นโกงกางมีความพิเศษ อย่างแรกคือ มันมีรากค้ำจุน
(Prop root) หรือ
(Buttress root) เพื่อให้มันสามารถยืนต้นตั้งตรงอยู่ได้ในสภาพพื้นที่เป็นโคลน
มีการแตกแขนงออกมา โคน ลำต้น หรือแม้แต่กิ่ง หยั่งลงไปยังพื้นโคลนเพื่อช่วยพยุงต้น
และยังมีรากเพื่อการหายใจ (Aerating
root) ซึ่งเป็นเสมือนหลอดดูดเพื่อออกมารับออกซิเจน
และยังมีรูบริเวณรอบลำต้นเพื่อรับออกซิเจนมากขึ้นด้วย
ทำไมต้องมีรูที่รากและลำต้นเพื่อรับออกซิเจน ทำไมมันจึงไม่ใช้ประโยชน์จากใบเพื่อรับเอาออกซิเจนเหมือนต้นไม้ชนิดอื่น ๆ นั่นเป็นเพราะว่าใบของต้นโกงกางถูกออกแบบมาเพื่อใช้สังเคราะห์แสงและขับเกลือมากกว่า การสังเคราะห์แสงของใบต้นโกงกางเป็นการทำหน้าที่ตามปกติ นอกจากนั้นปากใบของต้นโกงกางเป็นแบบจม (Sunken Stomata) คือ ปากใบจะอยู่ลึกเข้าไปในเนื้อใบทำให้คายน้ำออกมาน้อยกว่าปกติ เนื่องจากน้ำจืดเป็นสิ่งที่สำคัญแม้ว่าต้นโกงกางจะอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมแต่มันเป็นน้ำกร่อยและน้ำเค็มด้วย มันจึงต้องพัฒนากลไกการคายเกลือออกมาที่ผิวใบผ่านต่อมขับเกลือแทน และนั่นทำให้บางครั้งที่เราจับหรือเห็นใบต้นโกงกางจะดูเหมือนมีแป้งสีขาวเคลือบอยู่ที่ผิวใบ และนั่นคือความสามารถในการขับเกลือที่เกิดจากการวิวัฒนาการเพิ่มขึ้นมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น