วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

สิบสองปันนา




ปาล์มสิบสองปันนา
Pygmy Date Palm
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ปาล์มสิบสองปันนาเป็นพรรณไม้ตระกูลปาล์มมีลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนยอดของลำต้นมีกาบใบแตกออกมา ใบสีเขียวเข้ม มีลักษณะเป็นรูปขนนกแผ่โค้งออกรอบต้น ทำให้ดูสวยงาม โดยเมื่อปลูกเดี่ยวปล่อยให้มีพื้นที่ว่างรอบๆ ต้น ปาล์มสิบสองปันนาจะแผ่กิ่งก้านใบออกอย่างเสรีดูสวยและสง่างาม
ปาล์มสิบสองปันนาเป็นไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ตลอดวัน ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้แม้มีแสงแดดน้อยและน้ำน้อย จึงสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้
ปาล์มสิบสองปันนาเหมือนกับปาล์มชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการดูดสารพิษในอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะสารไซรีน (xylene) และมีการคายความชื้นที่ดี จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารสำนักงาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix roebelenii
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือของไทยและประเทศในแถบอินโดจีน
แสงแดด กึ่งแดดถึงแดดจัด
อุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ต้องการแสงแดด ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง ดินที่ปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ทนต่อแมลงได้ดี
การปลูก ชอบดินร่วนซุยที่มีอินทรีวัตถุ ใช้ดิน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
อัตราการคายความชื้น มาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
ปาล์มสิบสองปันนา


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นสิบสองปันนา


ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มในสกุลอินทผลัม  ต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลูกผสม  สูงประมาณ 2 เมตร  ตอนยอดมีกาบ
    ใบ  ติดคลุมลำต้น ใบรูปขนนก ทางใบโค้งลง  ตอนโคนใบเป็นหนามแหลม  สีเขียวอ่อนใบสีเขียวแก่ เป็นมัน ใต้ใบสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายมีผงแป้งคลุมอยู่
    ดอก  ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด  ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น  ดอกเล็กๆ   สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด
    ฝัก/ผล  กลมรี  เล็กๆ  ขนาดเมล็ดถั่วแดง  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ
    เมล็ด  กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ มีสีแดงปนดำผลอ่อนหรือเมล็ดอ่อนมีสีขาว ขนาดยาว 1.2 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบแดดตลอดวัน  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด  และแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีนและทางภาคเหนือของไทย
แหล่งที่พบ:  ตามป่าดิบชั้นและเป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากพม่าและอินเดีย

qr code

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น