วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561

ต้นทานตะวัน

ดาวเรือง

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Tagetes spp.
ชื่อวงศ์ : COMPOSITAE
ชื่อสามัญ : Marigolds
ชื่ออื่นๆ : ดาวเรือง
ถิ่นกำเนิด : ประเทศเม็กซิโกอเมริกาใต้
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดปักชำยอด

ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ดาวเรืองมีถิ่นกำเนิดในประเทศเม็กซิโก ต่อมามีผู้นำเข้าไปปลูกในยุโรป เนื่องจากเป็นไม้ที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย อีกทั้งดอกมีความสวยงาม  จึงเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลาย ใช้เป็นดอกไม้หน้าแท่นบูชาพระนางแมรี  และเนื่องจากดอกดาวเรืองดั้งเดิมมีเพียงสีเดียวคือ สีเหลือง จึงเรียกชื่อไม้ดอกชนิดนี้ว่าMary's gold ต่อมาจึงเพี้ยนไปเป็น Marigolds นอกจากดาวเรืองจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับและไม้กระถางแล้วยังใช้ประโยชน์เป็นพืชสีโดยใช้เป็นสีย้อมผ้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ  และในปัจจุบันยังใช้ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริมอีกด้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
            ดาวเรืองเป็นไม้ดอกต้นสูง 25-60 ซม. ใบเป็นรูปหอก ปลายแหลม ขอบหยัก ดอกเป็นช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายยอด  ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำ โคนเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่  ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดมีหลายสี เช่น สีส้ม เหลืองทอง ขาว และสองสีในดอกเดียวกัน และมีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน  พันธุ์ที่ใช้ปลูก  เช่น  Panther , Red Brocade , Dusty Rust , Midas Touch , Matador , Petite Gold
การปลูกและดูแลรักษา
            ดาวเรืองเป็นพืชที่ต้องการแสงแดดจัด จึงควรปลูกในที่กลางแจ้งให้ได้รับแสงแดดโดยตรงอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง  สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด  แต่ถ้าจะให้ได้ดาวเรืองที่มีพุ่มต้นสมบูรณ์ ดอกดกใหญ่ และมีคุณภาพ แล้ว ดินที่ใช้ปลูกควรมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ และมีการระบายน้ำดี  การรดน้ำก็เป็นไปตามปกติ  นอกเสียจากปลูกดาวเรืองในดินทรายจำเป็นต้องรดน้ำทั้งเช้าและเย็นเพราะดินทรายระบายน้ำได้ดีเกินไป

วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2561

ทดสอบ ม.4


ทดสอบความรู้คอมพิวเตอร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

สาวน้อยประแป้ง




สาวน้อยประแป้ง ไม้ประดับที่มีพิษถึงตาย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นสาวน้อยประแป้ง
สาวน้อยประแป้ง (Dumb cane) จัดเป็นไม้ประดับต้น และใบที่นิยมปลูกในกระถางสำหรับประดับในอาคาร และนอกอาคาร เนื่องจาก แผ่นใบมีขนาดใหญ่ พื้นใบมีสีเขียว และประเป็นลายด่างด้วยสีขาวจนดูแปลกตา และสวยงาม แต่ทั้งนี้ สาวน้อยประแป้ง ถือเป็นไม้ประดับที่ทุกส่วนมีสารพิษที่อาจทำให้ถึงตายได้ หากรับประทานเข้าไป
advertisement
• วงศ์ : Araceae
• วิทยาศาสตร์ : Dieffenbachia sp. (ตั้งเป็นเกียรติให้แก่นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน J.F. Dieffenbachia)
• ชื่อสามัญ : Dumb cane
• ชื่อท้องถิ่น :
– สาวน้อยประแป้ง
– ว่านหมื่นปี
– ช้างเผือก
– ว่านพญาค่าง
– อ้ายใบก้านขาว
– บ้วนมีแช
– ว่านเจ้าน้อย
– มหาพรหม
– อ้ายใบ
• ถิ่นกำเนิด : หมูเกาะอินดิสตะวันตก และทวีปอเมริกาใต้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
สาวน้อยประแป้ง มีลำต้นทั่วไปคล้ายกับแก้วกาญจนา/เขียวหมื่นปี ลำต้นทรงกลม ตั้งตรง และอวบน้ำ ผิวลำต้นมีสีเขียวสด และเป็นข้อถี่ที่เป็นวงสีขาวอันเกิดจากจากรอยแผลของใบ ปลายลำต้นแตกยอดอ่อนของใบทีละใบ ทั้งนี้ ต้นสาวน้อยประแป้งสามารถแตกหน่อเป็นลำต้นใหม่ที่โคนต้นได้

ใบ
สาวน้อยประแป้ง เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบแตกออกเป็นใบเดี่ยวๆบริเวณปลายยอดของลำต้น แต่ละใบเรียงสลับกันเป็นวงตามความสูงของลำต้น ใบมีรูปไข่แกมขอบขนาน กว้างประมาณ 15-25 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-60 เซนติเมตร โคนใบสอบแคบ ปลายใบแหลม แผ่นใบ และขอบใบเรียบ แผ่นใบมีสีพื้นเป็นสีเขียว และเส้นกลางใบสีเขียวอ่อนขนาดใหญ่ พร้อมมีลายประสีขาวกระจายออกจากเส้นกลางใบในแนวเฉียงบริเวณของเส้นใบย่อย
ดอก
ดอกสาวน้อยประแป้งออกเป็นช่อที่ปลายยอด คล้ายดอกหน้าวัว ตัวช่อดอกมีกาบหุ้มสีเขียวล้อมรอบ ด้านในกาบหุ้มบรรจุด้วยดอกขนาดเล็กสีขาวที่เรียงซ้อนกันแน่นจำนวนมาก เมื่อดอกบาน กาบหุ้มจะกางออก จนมองเห็นช่อดอกที่เป็นรูปทรงกระบอกยาว

ผล
ผลเจริญมาจากดอก มีลักษณะเป็นเครือคล้ายเครือกล้วย แต่ไม่เป็นหวี แต่จะเป็นผลแต่ละผลเรียงซ้อนกันแน่น ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกมีสีแดง ด้านในเป็นเมล็ด รูปทรงกลมถึงทรงรูปไข่



ต้นกล้วย


ต้นกล้วย

ต้นกล้วย


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้
กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิดในสกุล บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วย
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
Photo of a banana corm growing from loamy soil
หัวกล้วย เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 ซม. (10 นิ้ว)
กล้วยเป็นไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ ทุกส่วนเหนือพื้นดินของกล้วยเจริญจากส่วนที่เรียกว่า "หัว" หรือ "เหง้า"ปกติแล้ว ต้นกล้วยจะสูงและแข็งแรงพอสมควร ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งแท้จริงแล้วส่วนที่คล้ายกับลำต้นคือ "ลำต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบด้วย "ก้านใบ" (petiole) และแผ่นใบ (lamina) ฐานก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบที่รวมตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดลำต้นเทียม มีหน้าที่ชูก้านใบ พยุงให้พืชตั้งตรงดูคล้ายต้นไม้ เมื่อแรกเจริญขอบของกาบจะจรดกันคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่ใจกลางลำต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน[3] พันธุ์กล้วยนั้นมีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมาก สูงประมาณ 5 เมตร (16 ฟุต) จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 เมตร (23 ฟุต) หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร (8.9 ฟุต) และกว้าง 60 ซม. (2.0 ฟุต)[6] แผ่นใบมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียว ใบฉีกขาดได้ง่ายจากลม ทำให้บางครั้งมองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่งลึก


ต้นกล้วยที่มีผลและหัวปลี
เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง" จากนั้นจะหยุดสร้างใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence) ลำต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายในลำต้นเทียม จนในที่สุดมันก็โผล่ออกที่ด้านบนลำต้นเทียม แต่ละลำต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ปลี (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลีขึ้นมาห้าหัว) ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า "กาบปลี" (บางครั้งมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย (ที่สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณโคนปลี (ใกล้กับใบ) ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี" รังไข่อยู่ต่ำกว่าซึ่งหมายความว่ากลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่ในปลายรังไข่ หลังให้ผล ลำต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่หัว ส่งผลให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายหน่อพร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในระบบการเพาะปลูก จะอนุญาตให้เจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรรพื้นที่

ผลกล้วยพัฒนาจากดอกเพศเมีย กลุ่มของดอกเพศเมีย 1 กลุ่มเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งๆ มีผลกล้วยประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)" ซึ่งอาจมี 3-20 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด


ดอกตัวเมีย (ซึ่งจะเจริญไปเป็นผล) มีกลีบดอกและส่วนอื่นที่ปลายรังไข่ (รังไข่อยู่ต่ำกว่า (inferior))
ผลกล้วยได้รับการบรรยายเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)" มีชั้นป้องกันภายนอก (เปลือก) มีสายบางๆ ตามยาว (มัดท่อลำเลียงโฟลเอ็ม) อยู่ระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทานได้ภายใน เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มสีเหลือง มีรสหวานคล้ายขนม เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมเล็ก บางพันธุ์มีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็ง มีสีดำ สำหรับในสายพันธุ์ปลูก เมล็ดกล้วยมีขนาดเล็กมากเกือบจะไม่มีเลย เหลือแค่เพียงจุดสีดำเล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น

อนุกรมวิธาน
สกุล Musa จัดอยู่ในวงศ์ Musaceae ตามระบบ APG III กำหนดให้ Musaceae อยู่ในอันดับ Zingiberales เป็นส่วนหนึ่งในเครือบรรพบุรุษ commelinid ของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว

บางแหล่งอ้างว่าชื่อ Musa ได้รับการตั้งชื่อตามแอนโตนิอุส มูซา (Antonius Musa) นักพฤกษศาสตร์และแพทย์ประจำประองค์ของจักรพรรดิออกัสตัส[15] แหล่งอื่นกล่าวว่าคาโรลัส ลินเนียสผู้ตั้งชื่อสกุลในปี ค.ศ. 1750 ได้ดัดแปลงมาจากคำว่า mauz ซึ่งแปลว่ากล้วยในภาษาอาหรับ คำว่า banana ในภาษาอังกฤษมีรากมากจากภาษาโวลอฟคำว่า banaana] มีพืช 70 ชนิดในสุกล Musa ที่ได้รับการบันทึกใน World Checklist of Selected Plant Families (รายการตรวจสอบวงศ์พืชทั่วโลก) เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 มีหลายชนิดที่ผลรับประทานได้ ขณะที่บางชนิดปลูกไว้เป็นไม้ประดับ

การจัดจำแจกกล้วยเป็นปัญหามาช้านานสำหรับนักอนุกรมวิธาน เดิมลินเนียสจำแนกกล้วยออกเป็นสองชนิดบนพื้นฐานของการนำไปใช้เป็นอาหารคือ Musa sapientum สำหรับกล้วยและ Musa paradisiaca สำหรับกล้าย ภายหลังชื่ออีกหลายชนิดก็ถูกเพิ่มเติมเข้าไป อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้ได้พิสูจน์ว่ามันไม่ดีพอที่จะจัดการจำนวนพันธุ์ปลูกซึ่งมีจำนวนมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเป็นศูนย์กลางความหลากหลายของสกุล หลายพันธุ์ปลูกที่ได้รับการตั้งชื่อได้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นเพียงชื่อพ้อง

ในชุดเอกสารที่ตีพิมพ์หลัง ค.ศ. 1947 เออเนส์ต ชีสแมน (Ernest Cheesman) แสดงให้เห็นว่า Musa sapientum และ Musa paradisiaca ของลินเนียสเป็นแค่พันธุ์ปลูกและสืบเชื้อสายมาจากกล้วยป่าสองชนิด คือ Musa acuminata และ Musa balbisiana ซึ่งได้รับการจัดจำแนกโดยลุยจี อาลอย์ซีอุส คอลลา (Luigi Aloysius Colla) เขาแนะนำให้ยกเลิกสปีชีส์ของลินเนียสและสนับสนุนให้จัดจำแนกกล้วยใหม่ตามกลุ่มที่มีสัณฐานวิทยาที่ต่างกันสามกลุ่ม กลุ่มที่แสดงออกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ Musa balbisiana กลุ่มที่แสดงออกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ Musa acuminata และกลุ่มที่แสดงออกตามลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่ผสมกันระหว่างสองชนิดข้างต้น นักวิจัยนอร์แมน ซิมมอนด์ (Simmonds) และ เคน เชปเฟิด (Ken Shepherd) เสนอระบบการตั้งชื่อบนพื้นฐานของจีโนมใน ค.ศ. 1955 ระบบนี้ได้ขจัดความยากและความไม่สอดคล้องของการจัดจำแนกกล้วยก่อนหน้าที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน Musa sapientum และ Musa paradisiaca ของลินเนียส ถึงอย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชื่อเดิมยังคงถูกใช้โดยผู้แต่งบางคนซึ่งนำไปสู่ความสับสน

ปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นที่ยอมรับของกล้วยคือ Musa acuminata Colla และ Musa balbisiana Colla สำหรับสปีชีส์บรรพบุรุษ และ Musa × paradisiaca L. สำหรับลูกผสม M. acuminata × M. balbisiana ชื่อพ้องของ M. × paradisica ประกอบด้วย:


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การจำแนกกลุ่มของกล้วย
การจำแนกกลุ่มของกล้วยทำได้ 2 วิธี คือ จำแนกตามวิธีการนำมาบริโภค และจำแนกตามลักษณะทางพันธุกรรม

การจำแนกตามลักษณะทางพันธุกรรม
ดูบทความหลักที่: พันธุ์กล้วย
หลังปี ค.ศ. 1955 นักวิชาการได้จำแนกพันธุ์กล้วยตามพันธุกรรมโดยใช้จีโนมของกล้วยเป็นตัวกำหนดในการแยกพันธุ์ กล้วยที่นิยมบริโภคกันในปัจจุบันมีบรรพบุรุษเพียง 2 ชนิด คือ กล้วยป่า และกล้วยตานี กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยป่ามีจีโนมเป็น AA กล้วยที่มีกำเนิดจากกล้วยตานีมีจีโนมเป็น BB ส่วนกล้วยที่เกิดจากลูกผสมของกล้วยทั้ง 2 ชนิดจะมีจีโนมแตกต่างกันไป นอกจากนี้ ซิมมอนด์และเชปเฟิดได้เสนอให้ใช้ลักษณะทางสัณฐานวิทยารวมทั้งหมด 15 ลักษณะ มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา คือ สีของกาบใบ ร่องของกาบใบ ก้านช่อดอก ก้านดอก ออวุล ไหล่ของกาบปลี การม้วนของกาบปลี รูปร่างของกาบปลี ปลายของกาบปลี การซีดของกาบปลี รอยแผลของกาบปลี กลีบรวมเดี่ยว สีของดอกเพศผู้ สีของยอดเกสรเพศเมีย และสีของกาบปลี

การจำแนกตามวิธีการนำมาบริโภค
การจำแนกกล้วยตามวิธีการที่นำมาบริโภคสามารถแบ่งกล้วยออกเป็น 2 กลุ่มคือ กล้วยกินสด เป็นกล้วยที่เมื่อสุกสามารถนำมารับประทานได้ทันที โดยไม่ต้องนำมาทำให้สุกด้วยความร้อน เพราะเมื่อสุก เนื้อจะนิ่ม มีรสหวาน เช่น กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว และกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร เป็นกล้วยที่เมื่อดิบมีแป้งมาก เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อสุกยังมีส่วนของแป้งอยู่มากกว่ากล้วยกินสดมาก เนื้อจึงไม่ค่อยนิ่ม รสไม่หวาน ต้องนำมาต้ม เผา ปิ้ง เชื่อม จึงจะทำให้อร่อย รสชาติดีขึ้น เช่น กล้วยกล้าย กล้วยหักมุก กล้วยเล็บช้างกุด

ในพื้นที่ เช่น ทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ผลไม้สกุล  ที่วางจำหน่ายได้แบ่งเป็น "กล้วย" และ "กล้าย" บนพื้นฐานของการนำไปใช้เป็นอาหาร ดังนั้น ผู้ผลิตและชีกีตา (Chiquita) ซึ่งเป็นผู้จัดจำหน่ายได้ผลิตวัสดุประชาสัมพันธ์สำหรับตลาดอเมริกาที่บอกว่า "กล้ายไม่ใช่กล้วย" ความแตกต่างนั้นคือกล้ายมีแป้งมากกว่าและหวานน้อยกว่า นิยมทานสุกกว่ากว่าทานดิบ มีเปลือกหนาสีเขียว เหลือง หรือดำ ซึ่งสามารถใช้บอกสถานะของความสุกงอมได้ ลินเนียสได้สร้างความแตกต่างระหว่างกล้วยและกล้ายดังกล่าวขึ้นเมื่อแรกตั้งชื่อ "สปีชีส์" ทั้งสองของ  สมาชิกของพันธุ์กล้วย "กลุ่มย่อยกล้าย" ที่เป็นอาหารที่สำคัญมากในแอฟริกาตะวันตกและละตินอเมริกามีลักษณะยาวแหลม ซึ่งมันได้รับการจำแนกว่าเป็นกล้ายแท้โดยพลอตซ์และคณะ ต่างจากกล้วยที่ใช้ประกอบอาหารพันธุ์อื่น กล้ายที่สูงแอฟริกาตะวันออก (East African Highland banana) ซึ่งเป็นกล้วยที่ใช้ประกอบอาหารในแอฟริกาตะวันออกนั้น จัดอยู่ในกลุ่มอื่น[5] ดังนั้น จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นกล้ายแท้ตามคำนิยามนี้

แนวทางหนึ่งที่จะแบ่งกล้วยออกเป็นกล้วยกินสดและกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งกล้ายเป็นกลุ่มย่อยหนึ่งของกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร] คือ พันธุ์ปลูก  กำเนิดมาจาก M.  เพียงลำพังจะเป็นกล้วยกินสด ในขณะที่ พันธุ์ปลูก  ที่เป็นลูกผสมระหว่าง M.  และ M.  (โดยเฉพาะกลุ่มย่อยกล้ายเป็นกลุ่มย่อยของกลุ่ม  เป็น "กล้าย" (ในที่นี้หมายถึงกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร)  เกษตรกรรายย่อยในประเทศโคลอมเบียปลูกพันธุ์กล้วยหลากหลายมากกว่าสวนเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ จากการศึกษาพันธุ์ปลูกเหล่านี้แสดงว่ากล้วยสามารถจัดกลุ่มได้อย่างน้อยสามกลุ่มตามพื้นฐานของลักษณะ ได้แก่ กล้วยกินสด กล้วยที่ใช้ประกอบอาหารที่ไม่ใช่กล้าย และกล้าย แม้ว่าจะมีการคาบเกี่ยวกันระหว่างกล้วยกินสดและกล้วยที่ใช้ประกอบอาหาร

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศูนย์กลางความหลากหลายของกล้วย ทั้งกล้วยป่าและกล้วยพันธุ์ ความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" และ "กล้าย" กลับไม่มีความหมาย ตามข้อมูลของวาลมาเยอร์ (Valmayor) และคณะ กล้วยหลายพันธุ์ใช้ทั้งรับประทานสดและประกอบอาหาร กล้วยที่ใช้ประกอบอาหารที่มีแป้งมีขนาดเล็กกว่ากล้วยรับประทานสด ช่วงสี ขนาด และรูปทรง หลากหลายกว่ากล้วยที่ปลูกหรือขายในแอฟริกา ยุโรป หรืออเมริกา ภาษาเรียกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่บ่งชี้ถึงความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" และ "กล้าย" เหมือนอย่างในภาษาอังกฤษ (และภาษาสเปน) ดังนั้น ทั้งพันธุ์กล้วยหอมเขียว (Cavendish banana) ซึ่งเป็นกล้วยรับประทานสดที่รู้จักกันดี และพันธุ์กล้วยหิน  ที่นิยมใช้ประกอบอาหาร ถูกเรียกว่า  (ปีซาง) ในประเทศมาเลเซียและประเทศอินโดนีเซีย, กล้วย ในประเทศไทย และ (ชวย) ในประเทศเวียดนาม กล้วยเฟอิ (Fe'i banana) ที่ปลูกและรับประทานในหมู่เกาะของมหาสมุทรแปซิฟิก มีต้นกำเนิดที่แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากกล้วยโบราณและกล้าย กล้วยเฟอิส่วนมากจะใช้ประกอบอาหาร แต่กล้วยคาแรต (Karat banana) ที่มีลักษณะสั้นป้อม มีเปลือกสีแดงสดต่างจากกล้วยรับประทานสดทั่วไป ใช้กินสด

สรุปแล้ว ในเชิงพาณิชย์ในยุโรปและอเมริกา (แม้ไม่จัดเป็นพื้นที่เพาะปลูกขนาดเล็ก) ได้แยกความแตกต่างระหว่าง "กล้วย" ซึ่งรับประทานสดและ "กล้าย" ที่ใช้ประกอบอาหาร ขณะที่ในพื้นที่อื่นๆ ของโลก โดยเฉพาะอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีกล้วยหลายชนิด และไม่มีการแยกความแตกต่างระหว่างกล้วยทั้งสองกลุ่ม และไม่มีการแยกคำในภาษาถิ่น กล้ายเป็นหนึ่งในกล้วยหลายชนิดที่ใช้ประกอบอาหาร ซึ่งไม่แตกต่างจากกล้วยรับประทานสด

qr code

วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2561

สิบสองปันนา




ปาล์มสิบสองปันนา
Pygmy Date Palm
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ปาล์มสิบสองปันนาเป็นพรรณไม้ตระกูลปาล์มมีลำต้นเดี่ยว สูงประมาณ 1.5-2 เมตร ส่วนยอดของลำต้นมีกาบใบแตกออกมา ใบสีเขียวเข้ม มีลักษณะเป็นรูปขนนกแผ่โค้งออกรอบต้น ทำให้ดูสวยงาม โดยเมื่อปลูกเดี่ยวปล่อยให้มีพื้นที่ว่างรอบๆ ต้น ปาล์มสิบสองปันนาจะแผ่กิ่งก้านใบออกอย่างเสรีดูสวยและสง่างาม
ปาล์มสิบสองปันนาเป็นไม้กลางแจ้งที่ทนต่อแสงแดดได้ตลอดวัน ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง แต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้แม้มีแสงแดดน้อยและน้ำน้อย จึงสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารได้
ปาล์มสิบสองปันนาเหมือนกับปาล์มชนิดอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติในการดูดสารพิษในอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะสารไซรีน (xylene) และมีการคายความชื้นที่ดี จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในอาคารสำนักงาน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phoenix roebelenii
วงศ์ PALMAE
ถิ่นกำเนิด ภาคเหนือของไทยและประเทศในแถบอินโดจีน
แสงแดด กึ่งแดดถึงแดดจัด
อุณหภูมิ 18-24 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นปานกลาง
น้ำ ต้องการน้ำปานกลาง
การดูแล ต้องการแสงแดด ต้องการน้ำและความชื้นในระดับปานกลาง ดินที่ปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี ทนต่อแมลงได้ดี
การปลูก ชอบดินร่วนซุยที่มีอินทรีวัตถุ ใช้ดิน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วน ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก 1 ส่วน เศษใบไม้ผุ 1 ส่วน
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
อัตราการคายความชื้น มาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
ปาล์มสิบสองปันนา


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นสิบสองปันนา


ลักษณะทั่วไป:
    ต้น  เป็นปาล์มในสกุลอินทผลัม  ต้นเดี่ยว ไม่มีหน่อ ลูกผสม  สูงประมาณ 2 เมตร  ตอนยอดมีกาบ
    ใบ  ติดคลุมลำต้น ใบรูปขนนก ทางใบโค้งลง  ตอนโคนใบเป็นหนามแหลม  สีเขียวอ่อนใบสีเขียวแก่ เป็นมัน ใต้ใบสีเขียวอ่อนปนเทาคล้ายมีผงแป้งคลุมอยู่
    ดอก  ดอกไม่สมบูรณ์เพศ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกต้นเพศเมียออกระหว่างโคนทางใบ ช่อดอกยาวประมาณ 1 เมตร ปลายช่อแตกแขนงคล้ายไม้กวาด  ส่วนดอกต้นเพศผู้มีช่อดอกสั้น  ดอกเล็กๆ   สีเหลืองอ่อน ต่อไปก็ร่วงหล่นไปหมด
    ฝัก/ผล  กลมรี  เล็กๆ  ขนาดเมล็ดถั่วแดง  ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สุกสีม่วงดำ
    เมล็ด  กลมรี มีร่องตรงกลาง เมล็ดคล้ายเมล็ดกาแฟ มีสีแดงปนดำผลอ่อนหรือเมล็ดอ่อนมีสีขาว ขนาดยาว 1.2 เซนติเมตร
การดูแลรักษา:  ชอบแดดตลอดวัน  ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ด  และแยกหน่อ
การใช้ประโยชน์:  ไม้ประดับ
ถิ่นกำเนิด:  แถบอินโดจีนและทางภาคเหนือของไทย
แหล่งที่พบ:  ตามป่าดิบชั้นและเป็นพันธุ์ไม้ที่มาจากพม่าและอินเดีย

qr code

ต้นวาสนา

ต้นวาสนา


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

ต้นวาสนา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dracaena fragrans (L.) Ker-GawI.
ชื่อสามัญ : Cape of Good Hope, Dracaena
ชื่ออื่น : ประเดหวี มังกรหยก (กรุงเทพฯ)
วงศ์ : AGAVACEAE
ถิ่นกำเนิด : เอธิโอเปีย ไนจีเรีย กินี
ดูการออกดอก :  ช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือน พ.ย. - ม.ค.
เวลาที่ดอกหอม  :  ช่วงเย็นถึงมืด หรือช่วงที่มีอากาศเย็น
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ลำต้น
ลักษณะวิสัย  : ไม้พุ่ม
เรือนยอด ทรงพุ่ม : ทรงกระบอก
ถิ่นอาศัย : พืชบก
ลำต้น : ลำต้นเหนือดิน  ตั้งตรงเองได้
เปลือกลำต้น : เรียบ  สีน้ำตาลอมเทา
ยาง : ไม่มี
 ชนิดของใบ : ใบเดี่ยว    สีเขียวแกมเหลือง  ขนาดใบ กว้าง 7  ซ.ม.  ยาว 50 ซ.ม. ลักษณะพิเศษของใบ  ขอบใบขนาน  ปลายใบแหลม
รูปร่างแผ่นใบ : รูปขอบขนานใบ
ปลายใบ : แหลม
โคนใบ : สอบเรียว
ขอบใบ : เรียบ
ดอก : ดอกช่อแยกแขนง 
ตำแหน่งออกของดอก:ซอกใบ
กลีบดอก:กลีบดอกแยกกันมี6กลีบสีขาวออกเหลืองอ่อนๆ
เกสรเพศผู้ : จำนวน 1 อัน  สีขาว
เกสรเพศเมีย : จำนวน 6 อัน  สีเหลือง
รังไข่ : รังไข่ใต้วงกลีบ
กลิ่น : กลิ่นฉุย
ผล : ผลสดเป็นผลเมล็ดเดียวแข็ง
สีของผล : ผลอ่อน สีแดง  ผลแก สีเหลือง
ราก
รูปร่างผล : รี
 ลักษณะพิเศษของผล : ผิวเรียบ
เมล็ด : จำนวน 1 เมล็ด
สีของเมล็ด : สีเหลือง
รูปร่างเมล็ด : รี


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
วิธีการปลูก
การปลูกต้นวาสนา มี 2 วิธี ดังนี้
       1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก

       2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 10- 18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ :ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง 1-2 ปี/ครั้ง หรือแล้วแต่ความเหมาะสม เช่น การขยายตัวของราก เมื่อรากแน่นเกินไปก็ควรจะเปลี่ยนกระถาง หรือ เพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา
       เป็นพืชที่ชอบแดดจัดแต่ก็อยู่ในที่ร่มรำไรได้ ควรหมั่นรดน้ำ เพื่อให้ดินชุ่มน้ำอยู่เสมอแต่อย่าให้แฉะ ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกละลายน้ำรดเดือนละครั้ง หมั่นทำความสะอาดใบ โดยใช้ผ้าเช็ดก็จะดี ช่วยป้องกันแมลงจำพวกเพลี้ยได้
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชื้นปานกลางจนถึงสูง
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลางจนถึงมาก ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง              
แสง ต้องการแสงแดดอ่อนรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง              
อุณหภูมิ ต้นวาสนาเป็นไม้ที่ชอบอากาศหนาวเย็น จึงควรปลูกในอุณหภูมิประมาณ 10-18 องศาเซลเซียส จึงจะเหมาะสม และหากต้องการให้ต้นวาสนาออกดอก ควรปลูกในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
ความชื้น ต้องการความชื้นสูง
น้ำ ต้องการน้ำมาก
อัตราการคายความชื้น ปานกลางถึงมาก
อัตราการดูดสารพิษ มาก
การขยายพันธุ์
       วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ โดยการตัดลำต้นเป็นท่อน ๆ ยาวประมาณ 6-8 นิ้ว จากนั้นนำลงแช่น้ำในถาดตื้น ๆ จนแตกหน่อ แล้วจึงนำไปปลูกลงในดิน และหมั่นรดน้ำ เพื่อให้เจริญเติบโตเป็นต้นวาสนาที่สวยงามต่อไป

ประโยชน์ของต้นวาสนา
       ต้นวาสนาเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีใบสวยงาม เวลาออกดอกจะมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ นิยมนำมาเป็นไม้ประดับประจำบ้าน   นอกจากนี้คนไทยโบราณเชื่อว่า หากปลูกต้นวาสนาไว้ในบ้าน และดูแลอย่างดี จนต้นวาสนาออกดอก จะช่วยให้คนในครอบครัวนั้นได้รับโชคลาภ   ต้นวาสนานี้จัดเป็นไม้มงคลที่ขึ้นชื่อ  อีกทั้งยังมีชื่อต้นที่เป็นมงคล จึงเป็นต้นไม้ยอดนิยมที่ใคร ๆ ต่างนิยมปลูกเพื่อเสริมโชคลาภตามความเชื่อนั่นเอง
       - ใบ        แก้ปวดท้อง
       - ราก  บรรเทาอาการปวดในการคลอดบุตร
ความเชื่อโบราณ
       ต้นวาสนา ถือเป็นไม้เสี่ยงทาย ถ้าหากใครก็ตามสามารถปลูกต้นวาสนาได้สวยงามและออกดอกได้ เชื่อว่าจะทำให้มีโชคลาภปรารถนาสิ่งใดก็จะได้ดังหวังดังที่ต้องการ
สำหรับต้นวาสนาอธิษฐานไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบ ให้ปลูกในวันอังคาร ถ้าจะ ให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรี เพราะวาสนาอธิษฐานเป็นชื่อที่เหมาะสมกับสุภาพสตรีนั่นเอง


ต้นยอ





🎬ต้นยอ🎬



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ต้นยอ 0




ยอ (ชื่อวิทยาศาสตร์Morinda citrifolia L.)
 เป็นพืชพื้นเมืองในแถบพอลินีเชียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ ภาษามลายูเรียก
เมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

การใช้ประโยชน์

ใบสดใช้สระผม กำจัดเหา ผลยอแก่มี asperuloside แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน และแอนโทรควิโนน ช่วยขับพยาธิ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ในโพลีเนเซีย ใช้ผลอ่อน ใบและรากใช้รักษาความผิดปกติของประจำเดือน



ต้นชบา


       ชบา (Hibiscus) จัดเป็นไม้ประดับดอกที่นิยมปลูกกันทั่วโลก โดยเฉพาะในแถบประเทศเขตร้อนของอเมริกา และแอฟริกา จนได้สมญานามว่า ราชินีแห่งดอกไม้เมืองร้อน นอกจากนั้น ยังนิยมนำดอก และใบที่มีสารเมือกมาใช้ประโยชน์ในด้านสมุนไพร และความงามอีกด้วย

วงศ์ : Malvaceae
สกุล : Hibiscus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus rosa-sinensis
ชื่อสามัญ
  – Hibiscus
  –  Tropical Hibiscus
  – Hawaiian Hibiscus
  – Shoe Flower
  – China rose
ชื่อท้องถิ่น : 
ใหม่, ใหม่แดง (ภาคเหนือ) ; ชบา (ภาคกลาง) ; บา (ภาคใต้) ; ชบาขาว, ชุมบา (ปัตตานี)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศ อินเดีย และประเทศเขตร้อนชื้นต่างๆ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น
     ชบา เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง มีลำต้นสูงประมาณ 1-3 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งระดับล่าง ลำต้นแตกกิ่งปานกลาง แต่ใบมีขนาดใหญ่ และดก ทำให้แลดูมีทรงพุ่มทึบ เปลือกลำต้นมีเส้นใยและยางเมือก สามารถดึงลอกออกเป็นเส้นเชือกได้
ใบ
     ชบา ใบแตกออกใบเดี่ยวๆ เรียงสลับตามความยาวของกิ่ง ใบมีหูใบยาว 0.5-2 เซนติเมตร ใบมีรูปหลายลักษณะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ ทั้งทรงกลม รูปไข่ ยาวประมาณ 4-9 เซนติเมตร โคนใบกว้าง ปลายใบแหลม มีก้านใบยาวประมาณ 0.5-2 เซนติเมตร แผ่นใบมีทั้งโค้งเป็นลูกคลื่นหรือเรียบ และมีร่องของเส้นใบหลักประมาณ 3 เส้น แผ่นใบมีสีเขียวสดถึงเขียวเข้ม เป็นมัน และมีขนเล็กๆปกคลุม ส่วนขอบใบมีทั้งหยักตื้นหรือหยักเป็นฟันเลื่อยลึก เมื่อนำใบมาขยำจะมีน้ำเมือกเหนียวออกมา
ดอก
     ดอกชบาเป็นดอกสมบูรณ์ที่ออกเป็นดอกเดี่ยวๆบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกตูมมีลักษณะเป็นหลอด ปลายหลอดแหลม มีกลีบเลี้ยงสีเขียวหุ่มด้านนอก โดยตัวดอกมีจำนวน กลีบเลี้ยง และกลีบดอก อย่างละ 5 อัน ซึ่งกลีบดอกมีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวหรือซ้อนกันเป็นชั้น โดยตัวดอกมีก้านดอกยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ถัดมาเป็นริ้วประดับที่มีประมาณ 6-7 อัน รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร ถัดมาเป็นกลีบเลี้ยงสีเขียว แบ่งเป็น 5 กลีบ โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม เป็นรูประฆัง ส่วนกลีบดอก มี 5 กลีบ กลีบดอกมีรูปไข่กลับหรือมนเรียงซ้อนเป็นวงกลม แผ่นกลีบดอกอาจเรียบหรือย่น หรือบิดเป็นคลื่น ส่วนขอบกลีบมักย่นเป็นลูกคลื่น เส้นผ่าศูนย์กลางของกลีบดอกประมาณ 6-10 เซนติเมตร มีโคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปแตร ซึ่งสีของกลีบดอกมีหลายสี และเป็นสีที่สดใส ฉูดฉาด อาทิ สีแดง สีชมพู สีขาว สีเหลือง เป็นต้น ซึ่งมักเป็นสายพันธุ์ลูกผสม
     ด้านในตรงกลางมีก้านชูเกสรยาว ซึ่งมักมีสีเดียวกันกับกลีบดอกหรือโคนกลีบดอก โดยส่วนปลายสุดเป็นอับเรณูของเกสรตัวผู้ และตัวเมีย

การปลูกชบา
     พันธุ์ชบาที่นิยมปลูกมาจะเป็นพันธุ์ฮาวาย ซึ่งมีมากกว่า 400 ชนิด และทั่วไปนิยมปลูกจากต้นพันธุ์ที่ได้จากการตอนกิ่ง หรือ การปักชำ
     การตอนกิ่งชบาจะเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล ขนาดกิ่งประมาณเท่านิ้วก้อยถึงนิ้วชี้ ส่วนการปักชำชำกิ่งจะใช้ทั้งกิ่งขนาดใหญ่จนถึงเล็กประมาณเท่านิ้วชี้เช่นกัน ซึ่งจะตัดกิ่งให้ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร ก่อนปักชำเอียง 45 องศา ในกระถางเพาะชำ

สรรพคุณของดอกชบา

  1. มีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยบำรุงจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
  2. ช่วยฟอกโลหิต
  3. ช่วยรักษาและบรรเทาอาการของโรคที่เกี่ยวกับไต
  4. ช่วยดับร้อนในร่างกาย แก้กระหาย และช่วยแก้ไข้ ด้วยการใช้ดอกชบา 4 ใบนำมาแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้วแล้วดื่มต่างน้ำ (ดอก)
  5. ช่วยเรียกน้ำย่อย ทำให้อาการมีรสชาติดีขึ้น ด้วยการใช้รากชบาน้ำไปต้มกับน้ำดื่ม
  6. ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว ด้วยการใช้ดอกชบาสดประมาณ 4 ดอกนำมาตำให้ละเอียด แล้วกินตอนท้องว่างในช่วงเช้าติดต่อกันประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะนำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม แล้วนำมาบดเป็นผงกินครั้งละ 1 ช้อนชาติดต่อกัน 1 สัปดาห์ (ดอก)
  7. ใบชบาสามารถช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกได้ ด้วยการใช้ใบชบาหรือฐานของดอกชบาก็ได้ นำมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล ก็จะช่วยรักษาแผลได้ (ใบ)
  8. เปลือกต้นชบาสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ (เปลือก)
  9. รากสด ๆ ของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดง นำมาตำละเอียดใช้พอกฝีได้ (ราก)
  10. ช่วยแก้อาการฟกช้ำบวม ด้วยการใช้รากสดของชบาพันธุ์ดอกขาวหรือแดงนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกแก้อาการฟกช้ำ (ราก)
  11. ใบชบาช่วยบำรุงผมให้ดกดำเงางาม ด้วยการใช้ใบชบาประมาณ 1 กำมือ ล้างให้สะอาด แล้วนำมาตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย ให้คั้นเอาแต่น้ำแล้วกรองกากทิ้ง หลังจากนั้นให้ใช้น้ำเมือกจากใบชบามาใช้สระผม จะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกและช่วยบำรุงผมด้วย (ใบ)
  12. สามารถนำมาใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าได้ โดยจะให้สีดำ เพราะในอดีตมีการนำมาใช้ย้อมผม ย้อมขนตา หรือนำไปทารองเท้า (จึงเป็นที่มาของ Shoe flower หรือดอกรองเท้านั่นเอง) (ดอก)
  13. เปลือกของต้นชบาสามารถนำมาใช้ทำเป็นเชือก หรือใช้ทอกระสอบได้อีกด้วย (เปลือก)
  14. ต้นชบานิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วเพื่อชมดอก เพราะนอกจากจะให้ความสวยงามแล้วยังปลูกง่าย แข็งแรง และตายยากอีกด้วย (ต้นชบา)

qr code